วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ครั้งที่3
วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ 2563

ความรู้ที่ได้รับ

  วันนี้อาจารย์ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับหน่วยข้าว และการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะให้สอดคล้อง
กับหน่วยที่สอน โดยมีตัวอย่างสื่อการสอนของรุ่นพี่มาประกอบการอธิบายและช่วยกันวิเคราะห์ว่าสื่อการสอนถูกต้องหรือไม ควรปรับหรือเพิ่มเติมอะไรได้บ้าง หลังจากนั้นอาจารย์ได้แจกกระดาษให้นักศึกษาเขียนหน่วยทั้งหมดที่ไปสังเกตการณ์สอนในเทอมนี้ ของโรงเรียนที่ตนเองไปสังเกตการณ์ว่ามีหน่วยอะไรบ้าง หลังจากนั้นอาจารย์ให้จับกลุ่ม 5 คน ในการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะและเลือกหน่วยที่ใช้ในการสอน โดยมีกิจกรรม ดังนี้  กิจกรรมเคลื่อนไหวประกอบเพลง กิจกรรมเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตามกิจกรรมเคลื่อนไหวตามข้อตกลง  กิจกรรมเคลื่อนไหวประกอบอุกรณ์ กิจกรรมเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย โดยให้เลือกมาคนละ 1 กิจกรรมเพื่อจัดกิจกรรมภายในห้องเรียน กลุ่มของดิฉันเลือกหน่วย ฝน และดิฉันเลือกจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวประกอบเพลง วันจันทร์ วันนี้ครูให้นักศึกษากลุ่มสัตว์น้ำมาทำกิจกรรมเป็นกลุ่มแรก และอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ ในการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวต่างๆ พร้อมกับบอกวิธีการสอนที่ถูกต้องให้นักศึกษานำไปปรับใช้ในการสอนเด็ก หลัฃจากนั้นนอาจารย์ก็ให้นักศึกษาเขียนหน่วยทั้งหมดของโรงเรียนที่ได้ไปสังเกตการณ์สอนเทอมนี้

ภาพบรรยากาศภายในห้องเรียน





ประเมินตนเอง

ตั้งใจในการฟังอาจารยือธิาย ได้ความรู้เพิ่มเติมในการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะในรูปแบบต่างๆได้ถูกต้อง

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมได้ดี 

ประเมินอาจารย์

อาจารย์ใส่ใจรายละเอียดในเล็กๆน้อย อธิบายการจัดกิจกรรมเคลื่ิอนไหวและจังหวะรูปแบบต่างๆได้อย่างเข้าใจ และมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุง และช่วยพัฒนาการสอนของนักศึกษาให้ดียิ่งขึ้น





วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2563

 ครั้งที่2
วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ 2563

ความรู้ที่ได้รับ

 วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษา พูดความรู้สึกที่ได้ไปสังเกตการณ์สอน และการจัดการเรียนการสอนในแต่ละโรงเรียนว่ามีการจัดการเรียนการสอนในช่วงโควิด19 ว่ามีการจัดการเรียนการสอนอย่างไร มีมาตรการในการรักษาความสะอาดและดูแลสุขอนามัยอย่างไร และอาจารย์ยังบอกว่านักศึกษาทุกคนมีศักยภาพทุกคน ให้นักศึกษาแสดงความรู้ของตนเองที่เรียนมา เพื่ออาจารย์จะได้พัฒนานักศึกษาได้ตรงจุดประสงค์  และอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาเขียนแผนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ โดยแบ่งเป็นโรงเรียนที่ไปสังเกตการณ์สอนได้ทั้งหมด 7 โรงเรียนหรือ 7 กลุ่ม กลุ่มดิฉันเป็นกลุ่มสุดท้าย

บรรยากาศภายในห้องเรียน









ประเมินตนเอง


ตั้งใจในการฟังครูสอน และแลกเปลี่ยนความคิดจากการไปสังเกตการณ์ให้เพื่อนๆฟัง

ประเมินเพื่อน


เพื่อนๆ ตั้งใจในการเรียน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน

ประเมินอาจารย์

อาจารย์อธิบายให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 



ครั้งที่ 1

วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ 2563





 วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษา หาวิจัย บทความ และสื่อที่ใช้ในการสอนมา โดยไม่ซ้ำกับวิจัยหรือบทความของเพื่อน หัวข้อเกี่ยวกับรูปแบบการสอนที่นำมาพัฒนาเด็กและนำมาเขียนสรุปในบล็อคของตนเอง


 




สื่อการเรียนการสอน

ปฐมวัย Comprehensive Approach การมีส่วนร่วมแบบสมบูรณ์


สรุป

     การจัดการเรียนการสอนปฐมวัยในรูปแบบการสอนองค์รวม สิ่งที่สำคัญนอกจากการสอนในห้องเรียน หรือครูถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่เด็ก แต่ไม่ใช่ครูเพียงฝ่ายเดียวที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เด็ก การสอนในรูปแบบนี้้คือการที่ครูร่วมมือกับผู้ปกครอง โดยการให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการช่วยพัฒนาเด็ก ช่วยกันแก้ไขข้อบกพร่องของเด็ก การแลกเปลี่ยนและเเสดงความคิดเห็นร่วมกัน และช่วยกันส่งเสริมพัฒนาการของเด็กใ้ห้ครบทุกด้าน และเหมาะสมกับวัย เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต

ลิ้งค์ : https://youtu.be/BQObf82SVhs

บทความ

 

       การจัดการเรียนการสอนแบบ story line 

พัฒนาโดย ดร. สตีฟ เบลล์ วิธีการสอนแบบ Story Line 

เป็นวิธีที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จะมีการกำหนดเนื้อเรื่อง โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวนำเข้าสู่การทำกิจกรรม เป็นการเรียนรู้ตามสภาพจริงและลงมือปฎิบัติจริง เน้นทักษะกระบวนการคิด การวิเคราะห์ การตัดสินใจกระบวนการกลุ่ม ตลอดจนสร้างความรู้ด้วยตนเอง จะมีการบูรณาการระหว่างวิชาต่างๆเนื้อหาสาระพร้อมทักษะ หลายสาระเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน จะมีการผูกเรื่องเป็นตอนๆ  แต่ละตอนมีลำดับเหตุการณ์ หรือเส้นทางการเดินเรื่อง

 แนวคิดหลัก

1.การเรียนรู้ที่ดีควรมีลักษณะบูรณาการ เป็นการเรียนรู้ที่ผสมศาสตร์หลายๆอย่างเข้าด้วยกัน

2.การเรียนรู้ที่ดีต้องผ่านประสบการณ์โดยตรง หรือการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถในการเรียนรู้

3.ความคงทนของการจัดการเรียนสอน คือการได้รับถ่ายทอดความรู้และการรับความรู้มา

4.ผู้เรียนสามารถสร้างผลงานของตนเองได้ หากมีโอกาสหรือได้ลงมือกระทำ

องค์ประกอบ

การสร้างเรื่องแบบ Story Line เป็นการดำเนินเรื่องติดต่อและเชื่อมโยงกัน โดยมีคำถามหลัก เป็นตัวดำเนินการ เข้าเรื่องต่อไป

1.ตัวละคร หมายถึง บุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราว

2.ฉาก หมายถึง การระบูสถานที่หรือสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง

3.การดำเนินชีวิต หมายถึง การดำเนินชีวิต ของตัวละครใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร

4.เหตุการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้น หมายถึง เหตุการณ์ ที่ดำเนินชีวิตของตัวละคร

ลักษณะเด่น

1.กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง จัดเรียงเป็นตอนๆ โดยการใช้คำถามหลัก เป็นตัวการกำหนดกิจกรรมหลักและการดำเนินเรื่อง

2.เน้นกิจกรรมที่สอดคล้องกับคำถาม หรือเนื้อหาการผูกเรื่อง

3.เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยมีส่วนร่วมในการลงมือการทำกิจกรรมนั้นๆด้วย จะเกิดการเรียนรู้ที่กว้างขวางขึ้น สมารถพัฒนาผู้เรียนได้ ทั้งด้านสติปัญญา อารมณ์และเจตคติ เป็นวิธีสอนที่ให้โอกาสแก่ผู้เรียน ทำกิจกรรมที่อิสระ

4.เป็นการเรียนจากสภาพจริงหรือประสบการณ์โดยตรง และมีการบูรณาการระหว่างวิชา

5.มีเหตุการณ์เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนแก้ไขปัญหา

6.แต่ละเรื่อง ต้องมีองค์ประกอบในการดำเนินเรื่อง

ข้อดี การจัดการเรียนการสอนแบบนี้ผู้เรียนกับผู้สอนนจะมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือกัน จะมีการต่อยอดซึ่งกันและกัน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน สามารถบูรณาการเข้าร่วมกับวิชาอีกหลายวิชาด้วย

ข้อเสีย กิจกรรมนี้จะเหมาะสมกับเด็กเล็กมากกว่าเด็กโต ค่อนข้างใช้เวลามากในการเรียนรู้

สรุป

        การจัดกิจกรรมแบบ Story Line การใช้คำถามหรือตั้งคำถาม เพื่อนำไปสู่การคิดที่มีประสิทธิภาพ การสอนแบบ Story Line ส่วนมากจะใช้การตั้งคำถาม และเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีการปฎิบัติและลงมือทำจริง สามารถบูรณาการเข้ากับหลายวิชาได้  เพื่อให้เด็กรู้สึกสนุกสนาน หรือมีความสุขกับการทำกิจกรรม 


ขอบคุณข้อมูลดีๆจากลิ้งค์ : https://www.gotoknow.org/posts/499302

  วิจัย

ชื่อวิจัย : การพัฒนารูปแบบกิจกรรมร้องเพลงที่มีผลต่อการอ่านภาษาไทย ของเด็กปฐมวัย

(THE DEVELOPMENT SINGING ACTIVITY MODEL IN THE EFFECT

THAI READING FOR EARY CHILDHOOD)

ผู้วิจัย : นัตยา ทองคง

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

 1) พัฒนารูปแบบกิจกรรมร้องเพลงที่ผลต่อการอ่าน

ภาษาไทยของเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/ 80

 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาไทยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมร้องเพลง

 3)ศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ที่มีต่อกิจกรรมร้องเพลงกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการทดลอง ครั้งนี้เป็นเด็กชั้นปฐมวัยปีที่3 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2558 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยรูปแบบกิจกรรมร้องเพลงประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาไทยแบบทดสอบทายกิจกรรม แบบสังเกตความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อกิจกรรมร้องเพลง สถิติที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

และการทดสอบ (t-test)

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า

การพัฒนารูปแบบกิจกรรมร้องเพลงที่ผลต่อการอ่านภาษาไทย

ของเด็กปฐมวัย ที่พัฒนาขึ้นมีลักษณะของรูปแบบที่ให้ความสำคัญ กับกิจกรรมร้องเพลงมีหลักการ

การเรียนรู้มุ่งให้เด็กได้ทำ กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เด็กเรียนรู้จากการร้องเพลง เนื้อเพลง

และสื่อต่าง ๆ ที่สามารถพัฒนาการอ่านภาษาไทยสา หรับเด็กปฐมวัย ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้

ภาษาแบบองค์รวมทั้งการอ่านตัวอักษรและการอ่านคำ จากภาพมีการเชื่อมโยงกันอย่างเป็นธรรมชาติ

สอดคล้องกับ พัฒนาการตามวัย

บทความที่ได้รับความนิยม